พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน
  |  
 


โอวาทหลวงปู่ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

สรุปแล้ว คุณประโยชน์ที่ได้รับในเรื่องการอยู่ป่าที่สงัดเพื่อ ปฏิบัติทางจิตนี้ เห็นจริงตัดข้อสงสัยในคำสอนของพระตถาคตได้เป็นข้อๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงยอมปฏิบัติตนเพื่อ"วิปัสสนาธุระ"ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องในการได้ปฏิบัติทางจิตนี ้ ถ้าจะนำมาพรรณนาก็มีอยู่มากมายแต่จะขอกล่าวแต่เพียงส ั้นๆ เสมอเพียงเท่านี้

ธรรมโอวาท

- คนที่จะพ้นตาย ต้องทำตนเหมือนคนตาย
- คนกลัวตายจะต้องตายอีก
- ผู้ที่จะพ้นจากภพก็ต้องเข้าไปอยู่ในภพ ผู้ที่จะพ้นจากชาติต้องรู้เรื่องของตัว จึงจะเป็นไปได้
- ถ้าทุกคนมีความคิดเห็นถูกต้อง การปฏิบัตินั้นเป็นเหตุไม่เหลือวิสัย
- ขณะเรานั่งสมาธิหลับตาภาวนานั้น ก็ให้หลับแต่ตา ส่วนใจเราต้องให้สว่างไสว ผู้จะต้องถึงมรรคผลนิพพานได้นั้น จะต้องทำทางใจ ถ้าไม่ทำทางนี้แล้ว จะทำการกุศลสักเท่าไร ก็ถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้ นิพพานนี้จะต้องถึงด้วย
.................................................. ...................
ภาวนาพุทโธประสานกายกับจิตแยกกายเหลือจิตใช้จิตรู้กาย

 ตามวิธีฝึกอานาปานสติของหลวงพ่อลีธัมมธโรวัดอโศการาม ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธกำกับลมหายใจโดยมีขั้นตอนโดยสรุ ปดังนี้

ลมหายใจเข้าพุท
ลมหายใจออกโธ
10 ครั้ง
ลมหายใจเข้าพุทโธ
ลมหายใจออกพุทโธ
7 ครั้ง
ลมหายใจเข้าลมหายใจออกพุทโธ
5 ครั้ง
ลมหายใจเข้าลมหายใจออกพุทโธพุทโธพุทโธ 3 ครั้ง
จากนั้นให้ภาวนาพุทโธอย่างเดียวโดยไม่ต้องจับลมหายใจ อีก
จากนั้นให้ละภาวนาพุทโธให้จิตจับที่ลมหายใจแล้วพิจาร ณากองลม
เมื่อวิเคราะห์วิธีการดังกล่าวจะพบว่าในช่วงแรกที่ภา วนาพุทโธกำกับลมหายใจนั้นเป็นการใช้ของหยาบร่วมกับขอ งละเอียดของหยาบคือกายของละเอียดคือจิตเป็นการประสาน กายกับจิตให้ไปด้วยกัน

ก่อนที่จะละกายไปสู่จิตก่อนที่จะเหลือแค่การบริกรรมภาวนาอย่างเดียวนั้นท่านให้ภาวนาพุทโธติดกันกำกับลมหา ยใจเข้าออกแต่ละครั้งเพื่อทำให้จิตที่ใช้ภาวนาพุทโธเ ริ่มเด่นกว่าตัวลมหายใจของกายช่วงนี้เท่ากับขั้นตอนก ารละกายไปสู่จิตทีละเล็กทีละน้อย
ช่วงการภาวนาพุทโธอย่างเดียวเท่ากับการใช้จิตตามรู้จ ิตเองไม่จำเป็นต้องใช้กายเป็นสื่ออีกต่อไป
พอภาวนาพุทโธต่อไปเรื่อยๆขั้นนี้แหละที่ตัวจิตเด่นชัดขึ้นซึ่งจะพบตัวผู้รู้ผู้รู้กับคำภาวนาเป็นคนละส่วน กัน
พอพบตัวผู้รู้แล้วให้ละคำภาวนาเสียแล้วจะพบเองว่าสิ่งที่ยังไม่สงบยังเคลื่อนที่อยู่ในตัวเรานั้นก็คือลมห ายใจที่จะเด่นชัดขึ้นมา...เอง
เมื่อใช้จิตติดตามลมหายใจจะพบอาการไหวตัวของลมทำให้เรียนรู้กองลมได้...เอง


ข้อปฏิบัติทางใจเท่านั้น ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลเป็นเหตุแห่งสมาธิ สมาธิเป็นเหตุแห่งปัญญา ปัญญาเป็นเหตุแห่งวิมุตติ สมาธิเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาและญาณ อันเป็นองค์สำคัญของมรรค แต่จะขาดสมาธิไม่ได้ถ้าขาดแล้วก็ได้แต่จะคิดๆ นึกๆ เอา ฟุ้งซ่านไปต่างๆ ปราศจากหลักฐานสำคัญ สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู ถ้าตะปูเอียงไปค้อนก็ตีผิดๆ ถูกๆ ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ฉันใด ใจเราจะบรรจุธรรมชั้นสูงทะลุโลกได้จะต้องมีสมาธิเป็น หลักก่อน แล้วจึงเกิดญาณ ญาณนี้จะได้แต่คนทำสมาธิเท่านั้น ส่วนปัญญาย่อมมีอยู่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย แต่ไม่พ้นจากโลกได้เพราะขาดญาณ ฉะนั้นท่านทั้งหลายควรสนใจ อันเป็นทางพ้นทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์

                     การทำดีถูกดีนั้นมีค่า การทำดีถูกเวลาค่ามหันต์

                 การทำดีถูกบุคคลผลอนันต์ การทำดีด้วยความมั่นนั้นหละดี




Online: 4 Visits: 9,579,377 Today: 1,179 PageView/Month: 45,959