พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน
  |  
 
พระครูพุทธิสารสุนทร
(บุญกู้ อนุวฑฺฒโน)
วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพมหานคร



ไม่ลิงโลดและหดหู่ เพราะรู้เท่า "โลกธรรม"

ขอให้เข้าใจมองโลกมองชีวิต ให้เห็นเป็นธรรมชาติธรรมดา ซึ่งกาลเวลาที่ผ่านมา จะมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น มีทั้งด้านดีและด้านร้าย ทางพระให้ ชื่อว่า "โลกธรรม" ธรรมดาของโลกย่อมเป็นเช่นนั้นเอง กล่าวคือ มีต้นปี ย่อมมีปลายปี มี เจอะย่อมมีจาก มีได้ย่อมมีเสีย มีเกิดย่อมมีดับเป็นธรรมดา

ปุถุชนย่อมยินดีเมื่อได้ ย่อมยินร้ายเมื่อเสีย จิตใจย่อมหวั่นไหวตลอดไป ส่วนพระ อริยเจ้าผู้เข้าถึง "โลกธรรม" รู้เท่าต่อความเป็นไปเหล่านี้ ท่านจึงมีความเบากาย เบาใจ ไม่ ยินดีเมื่อได้ ไม่ยินร้ายเมื่อเสีย "ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย มิใช่เป็นไปตาม ความชอบใจของใคร"

สำหรับเราๆท่านๆซึ่งเคยฝึกจิตภาวนามาตามสมควร ก็ต้องรู้จัก "ทำใจ" ยินดีตาม ได้ พอใจตามมี จึงจะไม่ค่อยมีความทุกข์ยากเท่าใดนัก

"เราไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางลมได้ แต่เราอาจปรับใบเรือของเรา ให้แล่นก้าวหน้า ต่อไปได้" นี้เป็นคำพังเพยที่ปลอบใจเราว่า ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขสิ่งใดและผู้อื่นใดให้ดีขึ้น สมใจเราได้ ก็ขอให้เราตั้งใจปรับปรุงจิตใจภายในของเราเองให้มากขึ้น ให้ดีขึ้นไว้ จะได้ไม่ ขาดทุนสูญศรัทธาลงไป

แม้ในเรื่องกิจการขององค์การ บริษัทห้างร้าน หรือวัดวาอาวาส อันเป็นสมบัติของ ส่วนรวม ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้อยู่อาศัยหลายฝ่าย มิใช่จะยึดถือเป็นสมบัติ ส่วนตัวของเราเองโดยเฉพาะ

จึงอย่าได้มุ่งแบกภาระเสียคนเดียว จนเกิดความเครียด วิตกกังวล ทำให้สุขภาพ ทรุดโทรมทั้งทางร่างกายและจิตใจ ต้องรู้จักแบ่งเบาและมอบภาระ ให้ผู้ร่วมกิจกรรมช่วย แบกช่วยหามตามสมควรบ้าง แล้วต้องเข้าใจเห็นความหวังดีหรือกุศลในใจของตน ที่ได้ ขวนขวายทำความเจริญมาเท่าใดอย่างไร จะได้มีความสบายใจ เกิดความแจ่มใสเแช่มชื่น อยู่เสมอ

พระพุทธองค์ทรงสอนให้เรารู้เท่าต่อ "โลกธรรม" แล้วฝึกทำใจด้วยการบำเพ็ญจิต ภาวนา ให้จิตใจสงบระงับ เพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในตัวเราตัวเขาลงไปบ้าง ให้หมั่น บริกรรมในใจเสมอๆว่า "อนัจจัง ทุกขัง อนัตตา" หรือ "ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่น ถือมั่น" จะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลลงไปได้

แม้ในบท "พรหมวิหาร" ท่านก็ได้แสดงไว้ถึงหลัก ๔ ประการ กล่าวคือ ให้มีเมตตา มีความหวังดีเป็นที่ตั้ง กรุณาช่วยสงเคราะห์ด้วยประการต่างๆ มุทิตาพลอยยินดีเมื่อมี ผลดีเป็นความสุขความเจริญเกิดขึ้น และ อุเบกขาให้ทำใจเป็นกลางรู้จักปล่อยวางหรือ วางเฉย ในเมื่อสิ่งเหล่านั้น ผู้นั้น ไม่ดีขึ้น ไม่เจริญขึ้น อย่างที่ปรารถนาไว้

ปีเก่าไป ปีใหม่มา อีกคราหนึ่ง

จงคำนึง ถึงชีวิต ประสิทธิผล

ได้หรือขาด พลาดหรือพ้น ตรวจที่ตน

หมั่นฝึกฝน ให้จิตเลิศ เกิดคุณอนันต์

คุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ประมวลลง ที่ใจ ให้สุขสันต์

กุศลกรรม ที่บำเพ็ญ ทุกคืนวัน

ย่อมเสกสรร บันดาล สำราญรมย์


Online: 5 Visits: 9,578,018 Today: 2,455 PageView/Month: 44,556