พระอาจารย์ บุญกู้ อนุวฑฺฒโน
  |  
 

พระอาจารย์บุญกู้  อนุวฑฒโน

วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน  กทม.

... เราไปเข้าโรงเรียนเพียรศึกษาวิชาการ แล้วมุ่งทำงานอาชีพ เราย่อมได้เงินมาเลี้ยงร่างกาย ... เราเข้าวัดเพียรศึกษาธรรมะ แล้วมุ่งทำบุญกุศล เราย่อมเสียเงินเสียทองเพื่อมาเลี้ยงจิตใจ

... ขณะที่เรากำลังมีชีวิตอยู่นี้ ร่างกายกับจิตใจยังอยู่รวมกัน แต่สักวันหนึ่งมันจะต้องพลัดพรากจากกันไป ร่างกายเป็นรูป คือ วัตถุธาติ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงต้องหาเลี้ยงเขาด้วยเงินทองอันเป็นโลกียทรัพย์  มีปัจจัย ๔ เป็นต้น จิตใจเป็นนาม คือ วิญญาณธาตุ กอปรด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงต้องเลี้ยงเขาด้วยบุญกุศลอันเป็นอริยทรัพย์ ประกอปไปด้วย ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น

... ผู้ใดมุ่งเลี้ยงแต่ร่างกาย หรือบำรุงแต่จิตใจเพียงอย่างเดียว ความเจริญของชีวิตย่อมต้องตกหล่นบกพร่อง หากผู้ใด้เข้าใจเลี้ยงทั้งร่างกาย และบำรุงจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ความเจริญของชีวิตย่อมเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็สบายขึ้น ตายไปก็จะเป็นสุข

หลัก ๕ ประการ สำหรับเป็นข้อปฏิบัติประจำวัน

๑. ให้มีศีลธรรมพอดี

๒. ให้มีชีวิตพออาศัย

๓. ให้มีปัจจัยพอใช้

๔. ให้มีอนามัยพออยู่

๕. ให้มีบุณกุศลพอเพียง

แล้วเสบียงชีวิตจะสมดุล และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

อันสังขาร ร่างกาย นั้นไม่เที่ยง

สุดบ่ายเบี่ยง บั้นปลาย ต้องตายหนอ

จงทำดีแต่วันนี้ อย่ารีรอ

รู้จักพอ เป็นสุข ทุกข์สถานเอย

วัดอโศการาม

... ตามประวัติที่กล่าวไว้ พระสุทธธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ ( พระอาจารย์ ลี ธัมมธโร ) จัดตั้งวัด โดยมี นายสุเมธ และนางกิมหงษ์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อก่อตั้งวัดอโศการามเป็นจำนวน  ๕๓ ไร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จากนั้นมาราวหนึ่งปี คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เรื่มก่อสร้างวัดอโศการาม ซึ่งในสมัยนั้นการที่จะเดินทางจากกรุงเทพนไปยังวัดอโศฯนั้นไม่งายนัก

... เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านพ่อลีมีดำริจัดงานฉลองสมโภชขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ท่านได้ดำริมานานแล้ว และหลังจากที่ท่านพ่อลี ได้มรณะภาพไปในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้มีการจัดสร้างวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบันโดยใช้พื้นที่ด้านทางทิศ ตะวันออก พร้อมกันนั้นได้ได้มีการก่อสร้าง พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์หมู่ ๑๓ องค์

... วัดอโศการามเป็นสถานที่ปัฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ที่ท่านพ่อลีได้วางรากฐาน และเหล่าศิษยยานุศิษย์ได้สืบทอดเจตนารมย์กันต่อ ๆ มา

 ... อย่าลืมไปทำบุญที่วัดอโศ นะค๊า


Online: 30 Visits: 9,578,664 Today: 466 PageView/Month: 45,223